สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ทางทะเล
แพทย์ประจำบ้านพันธกิจ
พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม
ในปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายของการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลในด้านต่างๆ และพยายามผลักดันในการส่งเสริมการสาธารณสุขทางทะเลของประเทศ ผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถของระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะการยกระดับศักยภาพด้านบุคลากรสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุข และเครือข่ายสาธารณสุข ในพื้นที่เกาะและชายฝั่งทะเลทั่วประเทศไทย เพื่อยกระดับในการบริการสุขภาพที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมทางทะเล ทั้งการท่องเที่ยว การประมง การพาณิชย์นาวี การแสวงประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล รวมไปถึงการสำรวจและวิจัย วิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อหนุนเสริมศักยภาพของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งในบริบทของการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลต่างๆ ในด้านของการทหารเรือโดยตรงและไม่เกี่ยวกับทางทหารเรือโดยตรง
เวชศาสตร์ทางทะเล เป็นสาขาวิชาทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ทางเวชกรรมอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง มีการบูรณาการองค์ความรู้ทางเวชวิทยาการสาขาต่างๆ ทั้งเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ใต้น้ำ เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง อาชีวเวชศาสตร์ รวมไปถึงองค์ความรู้และการบริการทางการแพทย์ต่างๆ ที่สามารถตอบสนองในการดูแลประชากรทั่วไปทุกกลุ่มวัย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ตั้งแต่บริเวณชายฝั่ง ในเรือ ในท้องทะเล
และมหาสมุทร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตตามปกติในที่พักอาศัย การประกอบอาชีพ และการพักผ่อนสันทนาการ แพทย์ผู้เข้าฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์ทางทะเล) จึงควรมีความรู้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งในด้านทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติ ในสาขาวิชาทั้ง เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ใต้น้ำ เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง และอาชีวเวชศาสตร์ รวมไปถึงองค์ความรู้และการบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ต่างๆ ในทะเลหรือบริบทของสภาวะแวดล้อม ที่มีทรัพยากรของการบริการทางการแพทย์ที่ขาดแคลนหรือไม่พอเพียง หรือการเข้าถึงการบริการได้ยากลำบากกว่าพื้นที่ปกติทั่วไป
ทั้งนี้ สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ทางทะเล รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ร่วมกับหน่วยงานหลักของกรมแพทย์ทหารเรือ ทั้งสถาบันเวชศาสตร์ทางทะเล โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ และโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ และมีหน่วยงานที่สำคัญในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานเวชศาสตร์ทางทะเล ของกรมแพทย์ทหารเรือรวมเข้ามาเป็นสถาบันหลักของกรมแพทย์ทหารเรือในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ทางทะเลที่มีศักยภาพตามที่สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ทางทะเลกำหนดพันธกิจด้านการศึกษาของหลักสูตร ดังนี้
“เพื่อผลิตแพทย์หรืออาจารย์แพทย์ในสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์ทางทะเล) ตามความต้องการของงานส่งเสริมและป้องกันสุขภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเล รวมถึงสนับสนุนระบบบริการสุขภาพและนโยบายการสาธารณสุขทางทะเลของประเทศ เพื่อตอบสนองต่อภารกิจของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และให้สอดคล้องกับระบบมาตรฐานคุณภาพสากล ที่มีการยอมรับได้ระดับนานาชาติได้อย่างมีคุณภาพตรงตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์ทางทะเล)ของแพทยสภา โดยมีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติได้ด้วยตนเองเต็มตัว ครอบคลุม และเหมาะสมกับบริบทของงานเวชศาสตร์ทางทะเล ซึ่งมีความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพและสามารถสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือสามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้ มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนมีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเลได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทร และใส่ใจในความปลอดภัย เพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม นำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านเวชศาสตร์ทางทะเล ของระบบการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หรือในระดับนานาชาติได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการบริหารงานในการจัดการบุคคล และองค์กรได้เหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจในระบบบริการสุขภาพในแบบต่างๆ เข้าใจกระบวนการงานมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเล ผู้ร่วมงาน และองค์กร รวมทั้งสถาบัน ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสภาวะและสภาพในการทำงานที่เหมาะสมและสามารถรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างสมดุล สามารถให้แพทย์เวชศาสตร์ทางทะเลที่สำเร็จการฝึกอบรม มีขีดความสามารถที่จะเป็นผู้นำในงานวิชาการของเวชศาสตร์ทางทะเล เป็นผู้นำในงานวางระบบของการทำงานเพื่อการพัฒนาหน่วยงานองค์กรทางเวชกรรมทางทะเลที่สังกัดอยู่ร่วมกับชุมชนหรือประชากรเป้าหมายของหน่วยงาน และเป็นผู้มีส่วนรวมในกำหนดหรือการวางแผนการพัฒนา ในระดับแนวทาง นโยบาย หรือการออกกฎหมายระเบียบข้อบังคับ ในการสาธารณสุขทางทะเลของประเทศไทยหรือในวงกว้างระดับนานาชาติได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ทางทะเลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสาธารณสุขทางทะเลของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน”
รายชื่ออาจารย์
รายชื่อศิษย์เก่า
รายชื่อศิษย์เก่าผู้สำเร็จการศึกษา
รายชื่อศิษย์เก่าผู้สำเร็จการศึกษา | ปีที่ศึกษา | |
1 | ว่าที่ น.ต.หญิง แจ่มจันทร์ จันทร์แจ้ง | 2557-2559 |
2 | นพ.พิชญ์พงศ์ พูลผล | 2559-2561 |
3 | พญ.ชัชฎาภรณ์ ไกรศรพรสรร | 2559-2561 |
4 | พญ.นภาพร สายเงิน | 2559-2561 |
5 | พญ.หรรษา เปรมมณีสกุล | 2560-2562 |
6 | นพ.ธนวัฒน์ แซ่เจี่ย | 2560-2562 |
7 | น.ต.หญิง แป้งร่ำ ยงเจริญ | 2560-2562 |
8 | นพ.มรรษยุว์ อิงคภาสกร | 2560-2562 |
9 | พญ.สตรีรัตน์ แก้วเยื้อง | 2562-2564 |
10 | นพ.ขจรยุทธ บางท่าไม้ | 2562-2564 |
11 | ร.อ.พิชญพงษ์ ยรรยงสถิตย์ | 2562-2564 |
12 | นพ.ชานน วงษ์วานิช | 2563-2565 |
13 | พญ.ศุภางค์ ตั้งลิตานนท์ | 2563-2565 |
14 | พญ.นภิสรีย์ ทรัพย์สุขอำนวย | 2563-2565 |
15 | พญ.ณัฐธาวินี หรดี | 2564-2566 |
16 | นพ.ชาติภิวัฒน์ รำจวน | 2564-2566 |
17 | นพ.ชนินทร์ โภคบาล | 2564-2566 |
รายชื่อศิษย์ปัจจุบัน
รายชื่อศิษย์ปัจจุบัน | ชั้นปีที่กำลังศึกษา | |
1 | นพ.อัคร์วุฒิ เวทยานนท์ | 3 |
2 | พญ.ลีลาวดี เพ็งสุทธิ์ | 3 |
3 | นพ.พูนศักดิ์ จิตตานนท์ | 3 |
4 | พญ.ศิรดา ชัยชนะเชิดชู | 3 |
5 | น.ต.ภากร กรลักษณ์ | 2 |
6 | ร.อ.อิงครัต แสงอังศุมาลี | 2 |
7 | นพ.ชัยณรงค์ สุขภูตานันท์ | 2 |
8 | นพ.ชยุตม์ กิจทว | 2 |
9 | พญ.ประกายทิพย์ สังข์ทอง | 2 |
10 | นพ.เสนีย์ ลี้วิบูลย์ศิลป์ | 1 |
ติดต่อภาควิชา
โทรศัพท์เข้าเบอร์กลางของ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
โทร. 02-876-6120 (ถึง 29) และต่อสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เวชศาสตร์ทางทะเล หมายเลข 41551 หรือ 41788 (ในวันและเวลาราชการ)
Email : maritime.navymed@gmail.com
Official page Facebook : Maritime Medicine Residency Training Institute